วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

พบปัญหาอีก! แท็บเล็ต ป.1 ไม่มีระบบตัดไฟ-แบตหมดเร็ว




เผย แท็บเล็ต ป.1 ไม่มีระบบตัดไฟ เตือนผู้ปกครองดูแลบุตรหลาน ห้ามชาร์จแบตโดยไม่ใส่รองเท้า เสี่ยงโดนไฟดูด ส่วนแบตเตอรี่ใช้ได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่ตามสัญญาระบุว่า ใช้งานติดต่อกันได้ 6 ชั่วโมง 


วันนี้ (3กันยายน) นายณรงค์ จุนเจริญวงศา ศึกษานิเทศก์ สำนักงานพื้นที่ประถมศึกษา (สพป.) ฉะเชิงเทรา เขต 1 เปิดเผยว่า จากการรับแจกแท็บเล็ต ป.1 ของรัฐบาล ที่ได้แจกให้โรงเรียนแต่ละโรงเรียนทดลองใช้นั้น พบว่าไม่มีระบบตัดไฟ ซึ่งถ้าหากชาร์จไฟจนเต็มแล้ว เครื่องแท็บเล็ตก็ทำการรีชาร์จ หรือชาร์จใหม่อีกครั้งไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ การรีชาร์จดังกล่าวจะส่งผลให้เครื่องร้อนเกินไป และกระทบต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์ 



นายณรงค์ กล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องแจ้งเตือนไปยังผู้ปกครองที่นำเครื่องแท็บเล็ตกลับบ้านว่า ห้ามปล่อยให้เด็กเสียบชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่สวมใส่รองเท้าเด็ดขาด เนื่องจากตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียม ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า จึงอาจจะทำให้เกิดไฟดูดได้ อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องการรีชาร์จ ทาง สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ได้แก้ปัญหาด้วยการออกแบบเครื่องตัดไฟเอง โดยผลิตจากการประกอบเบรกเกอร์และเครื่องจับเวลาเข้าด้วยกัน 



ขณะที่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า การชาร์จไฟเข้าไปยังอุปกรณ์ โดยที่ไม่มีระบบตัดไฟนั้น จะทำให้อุปกรณ์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น ส่วนจะมีโอกาสระเบิดขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ว่ามีการติดชิพวัดอุณหภูมิหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่มีก็อาจจะเกิดโอกาสระเบิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ส่วนใหญ่ได้ทำการติดตั้งชิพตัวนี้ไว้อยู่แล้ว 



ส่วนทางด้าน นางสาวพัทยา ลายประดิษฐ์ ครูประจำชั้น ป.1/2 โรงเรียนวัดนครเนื่องเขต (ศรีไพจิตร) จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ที่ผ่านมาหลังจากทดลองใช้เครื่องแท็บเล็ตพบว่า ไม่เคยใช้ต่อเนื่องได้นานเกิน 3 ชั่วโมง และบางเครื่องก็สามารถใช้ได้แค่เพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้น เนื่องจากจู่ ๆ แบตเตอรี่ก็หมดทั้ง ๆ ที่เปิดแบบเรียนสอนนักเรียนพร้อม ๆ กัน จึงทำให้นักเรียนบางคนต้องเลิกใช้กลางคัน เพื่อนำเอาแท็บเล็ตไปชาร์จแบต ทำให้ต้องใช้แท็บเล็ตร่วมกับเพื่อน 



อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ตามสัญญาจากบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ ผู้ผลิตแท็บเล็ต ระบุว่า เครื่องแท็บเล็ตดังกล่าว จะต้องบรรจุแบตเตอรี่ที่ทำงานได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 


วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

Nikon D600 มาแน่ โค้งสุดท้ายก่อนเปิดตัวกับอัพเดตสเปคล่าสุด

อัพเดตอีกครั้งกับสเป็คของ Nikon D600 ที่น้าป๋วย TechXcite มั่นใจ 99% เลยว่าเปิดตัวแน่นอนในเดือนกันยายนนี้




อัพเดตอีกครั้งกับสเป็คของ Nikon D600 ที่น้าป๋วย TechXcite มั่นใจ 99% เลยว่าเปิดตัวแน่นอนในเดือนกันยายนนี้ ส่วนจะเป็นวันที่เท่าไรยังไม่สามารถระบุได้แน่นอนแต่คาดว่าน่าจะไม่เกินสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายนนี้ โดยกล้อง Nikon D600 เป็นกล้องที่สาวก Nikon ทั่วโลกคาดหวังและรอคอย เนื่องจากเป็นกล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ Full Frame ตัวใหม่ที่ทำราคาน่าจับจองเป็นที่สุด
สำหรับสเปคอัพเดตนั้นมีเพิ่มเติมดังนี้
- บอดี้เล็กและน้ำหนักเบา
- ระบบประมวลผลภาพแบบ 16bit
- ชิพประมวลผล EXPEED3
- บันทึกวีดีโอต่อเนื่องได้นานถึง 30 นาที
- มีไมโครโฟนในตัว
- โหมดการถ่ายแบ Scene Mode 19 แบบ
- บอดี้แมกนีเซียมอัลลอยตรงส่วนด้านบนและด้านหลัง
- ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/4000
- อายุการใช้งานชัตเตอร์ 150,000 ครั้ง (Nikon D800 เคลมว่าทำงานได้ 200,000 ครั้ง)
ส่วนสเป็คเดิมที่มีการรายงานมาก่อนหน้านี้มีตามนี้นะครับ
- เซ็นเซอร์ขนาด Full Frame 24.7 ล้านพิกเซล
- น้ำหนัก760 กรัม (รวมแบตเตอรี่ และเมมโมรี่การ์ด 850 กรัม)
- หน้าจอ LCD 3.2" ความละเอียด 921K พร้อมเซ็นเซอร์ช่วยชดเชยความสว่างและอุณหภูมิสีตามสภาพแวดล้อม
- รองรับ HDMI
- วีดีโอรูปแบบ H264/MPEG-4
- ถ่ายวีดีโอความละเอียดแบบ Full HD ปรับตั้งได้ตั้งแต่ 30p, 25p, 24p และแบบ HD ปรับได้ตั้งแต่ 60p, 50p, 30p, 25p
- ช่องมองภาพแสดงภาพ 100% เมื่อใช้งานกับเลนส์ฟูลเฟรม และ 97% เมื่อใช้งานกับเลนส์ตัวคูณ
- มีมอเตอร์ออโต้โฟกัสในตัว
- มี Weather Sealed ป้องกันละอองน้ำและฝุ่น รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่นอุณหภูมิต่ำ
- ไม่มีระบบ GPS ในตัว
- ISO ตั้งค่าได้ 100-6400 (ปรับขยาย Lo-1 ที่ ISO 50 และ Hi-2 ที่ ISO 25,600)
- ระบบโฟกัส 39 จุด (เพิ่มเติมจากมาตรฐาน 11 AF points) และ 9 จุด แบบ Cross Type
- ระบบโฟกัสใบหน้า (AF Face Detection)
- ระบบชดเชยแสงได้ +-5 EV (เช่นเดียวกับ D800)
- ใช้แบตเตอรี่รุ่น EN-EL15 (ใช้เหมือนกับ D7000)
- ระบบ AF 39 จุด (รู้สึกว่าจะน้อยกว่า D700 อีกนะครับ D700 มี 51 จุด)
- ถ่ายภาพต่อเนื่อง 5 ภาพต่อวินาที (อันนี้เท่ากับ D700)
- มีช่องใส่การ์ด SD 2 ช่อง ซึ่งรองรับการ์ดแบบ Eye-Fi ซึ่งจะทำให้สามารถแชร์ไฟล์ผ่าน Wi-Fi ได้
- มีฟังก์ชั่นปรับแต่งภาพในตัวกล้อง
- มีแฟลชในตัวสามารถซิงค์ได้ที่ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/250
- สามารถตั้งค่า User Settings ได้ 2 ค่า U1 และ U2
- มีปุ่ม Fn (Function) ให้ใช้งาน
- ถ่ายวีดีโอระบบ HD
- เซ็นเซอร์ความละเอียด 24 ล้านพิกเซล ขนาดฟูลเฟรม
- มีระบบ Auto DX Crop
- ปรับแต่งไฟล์ Raw ได้
- มีระบบ time-lapse
- ทำ HDR ได้ในตัว
- มาพร้อมกริปรุ่นใหม่
- ราคาเปิดมาไม่น่าเกิน $1500 หรือแค่ 45,000 บาทเท่านั้น
และจากบทวิเคราะห์ของคุณ Ken Rockwell ก็ให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกันเกี่ยวกับสเป็คของ Nikon D600 ดังนี้ครับ
เซ็นเซอร์ความละเอียด 24 ล้านพิกเซล CMOS เหมือนกับ D3X.
- FX (24 x 36mm): 6,048 x 4,032 (L), 4,544 x 3,024 (M) and 3,024 x 2,016 (S).
- DX (16 x 24mm): 3,968 x 2,640 (L), 2,976 x 1,976 (M), 1,984 x 1,320 (S).
- 14-bit linear ADC, 16-bit data pipelines, เหมือน D3X.
- 12-channel parallel readout.
ขนาดเซ็นเซอร์ 23.9 x 36mm
- ไม่มีระบบภาพ 5:4
- มีระบบครอปภาพ DX เช่นเดียวกับ Nikon D3X
Live View 2 โหมด
วีดีโอความละเอียดสูงสุด 1080p/30FPS
ISO 50-6400
- Nikon ใช้มาตรฐาน ISO 100-1600 ต่ำกว่านั้นจะใช้ Lo1 คือต่ำสุด และ Hi2 คือสูงที่สุดที่กล้องทำได้
ช่องมองภาพ 98%
- 0.72x with 50mm lens
- 18mm eyepoint
ระบบออโต้โฟกัส
- 51 จุด
- ใช้ CAM3500FX sensor array เหมือน D3X
- มีระบบ Fine-tuning
ชัตเตอร์
- 30วินาที - 1/8000วินาที
- ม่านชัตเตอร์ Carbon fiber และ Kevlar ทดสอบการทำงานใช้ได้ถึง 100,000 ครั้ง
ซิงค์แฟลชที่ 1/250 วินาที
มีแฟลชในตัว
- GN 39/12 (Feet/meters at ISO 100)
- รองรับระบบแฟลชไร้สาย
ถ่ายภาพต่อเนื่อง 5 ภาพต่อวินที
ไฟล์ภาพ JPG, TIF, NEF. NEF แบบ 12 หรือ 14 bit แบบบีบอัดและไม่บีบอัดไฟล์
จอ LCD 3.2 นิ้ว
- ความละเอียดหน้าจอ 920,000 พิกเซล
- แสดงผลภายนอกผ่านสาย HDMI แต่เป็นสายเฉพาะของ Nikon ไม่ใช่หัวต่อมาตรฐาน
ระบบวัดระดับน้ำอิเล็กทรอนิกส์
ช่องใส่ SD Card 2 ช่อง
เชื่อมต่อข้อมูลด้วย USB
แบตเตอรี่รุ่น EN-EL15 แบบเดียวกับ Nikon D7000 และ D800
รองรับกริปรุ่น MB-D12
ขนาด 142 x 123 x 77mm
น้ำหนัก 850g รวมแบตเตอรี่และ Sd Card , 775g ไม่รวมแบตเตอรี่และ Sd Card
ราคาเปิดตัว 2,399 เหรียญสหรัฐ พร้อมวางจำหน่ายในเดือนธันวาคม 2012


2012-08-31 18:58:02   By   http://www.techxcite.com

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผลการประชุมเกี่ยวกับแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
 
ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย ๑ แท็บเล็ต ต่อ ๑ นักเรียน ครั้งที่ ๗

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย ๑ คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ ๑ นักเรียน ครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

•การกำหนดร่างขอบเขตของงาน TOR แท็บเล็ตสำหรับครูใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนชั้น ป.๑

ที่ประชุมอนุมัติให้คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน TOR แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน รับผิดชอบการกำหนดร่างขอบเขตของงาน TOR แท็บเล็ตสำหรับครู เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียนชั้น ป.๑ ซึ่งมีข้อแตกต่างจากแท็บเล็ตของนักเรียน คือ มีสาย USB เพื่อเชื่อมโยงไปยังจอ Projector โดยให้คณะกรรมการไปจัดทำกำหนดคุณลักษณะ และกระบวนการจัดซื้อ เสนอขอความเห็นชอบจาก รมว.ศธ.และส่งต่อไปยังกระทรวง ICT เพื่อดำเนินการต่อไป 





•ผลการตอบรับการใช้แท็บเล็ต

ที่ประชุมรับทราบผลการตอบรับจากผู้ใช้แท็บเล็ตและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในส่วนของ สพฐ. และ สช. ซึ่งครูส่วนใหญ่พอใจต่อการใช้งานแท็บเล็ต ไม่ว่าจะเป็น Content, Application เพราะสามารถใช้งานได้ง่ายและเกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน อีกทั้งนักเรียนยังให้ความสนใจและให้การตอบรับที่ดี สำหรับการจัดอบรมครูผู้สอน ทาง สพฐ.และ สช.อบรมโดยใช้วิทยากรร่วมกันทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งในกรุงเทพฯ จัดอบรมแล้ว ๖ รุ่น กว่า ๖๐๐ คน โดยวิทยากรได้นำแผนการสอนของครูมาใช้ควบคู่กับแท็บเล็ตในการเรียนการสอนวิชา ต่างๆ ด้วย



•การจัดส่งและลงทะเบียน

ที่ประชุมรับทราบข้อมูลการจัดส่งและการลงทะเบียนแท็บเล็ต ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ซึ่ง สพฐ.ได้นำส่งแท็บเล็ตทั้งหมด ๔ รอบใน ๕๕ จังหวัดใน ๑๓๓ เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๒๙๑,๗๗๖ เครื่อง และคาดว่าในต้นเดือนกันยายนจะสามารถส่งแท็บเล็ตรอบสุดท้าย จำนวน ๑๐๖,๒๒๔ เครื่องใน ๒๒ จังหวัด ๕๐ เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับแท็บเล็ตจำนวนกว่า ๔๐๐,๐๐๐ เครื่องครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษาใน ๗๗ จังหวัด สำหรับส่วนที่เหลืออีกกว่า ๔๐๐,๐๐๐ เครื่องจะทยอยจัดส่งตามมา



•การซ่อมบำรุง และ Call Center

ที่ประชุมรับทราบข้อมูลการเปิดศูนย์ซ่อมบำรุงของบริษัทเสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ จำนวน ๑๑๔ สาขา ซึ่งมีขั้นตอนการส่งซ่อม ๒ ช่องทาง คือ ส่งซ่อมที่โรงเรียน จากนั้นโรงเรียนจะรวบรวมส่งศูนย์ หรือส่งซ่อมเองที่ศูนย์ซ่อมบำรุง หรือจะส่งทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยต้องกรอกข้อมูลในใบนำส่งซ่อมประกอบการซ่อมด้วย นอกจากนี้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) ได้เปิดบริการ Call Center หมายเลข ๑๑๑๑ กด ๘ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการใช้แท็บเล็ตของนักเรียน ป.๑ ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายนเป็นต้นมา โดยให้บริการข้อมูลของโครงการ การจัดส่ง ให้คำแนะนำการใช้งานแท็บเล็ตและข้อมูลต่างๆ รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนและรับข้อเสนอแนะ



•การประกวดสื่อเรียนรู้ สู่แท็บเล็ต

ที่ประชุมรับทราบการจัดประกวดสื่อเรียนรู้สำหรับแท็บเล็ต เพื่อส่งเสริมให้มีสื่อที่มีคุณภาพ สนับสนุนและกระตุ้นให้ประชาชนและภาคเอกชนพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Application บนระบบปฏิบัติการ Android เพื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนบรรจุลงในแท็บเล็ตและคลังสื่อ (Edu Store) ต่อไป โดยได้เปิดโอกาสให้ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ และนิติบุคคล ส่งผลงานเข้าประกวดใน ๒ ประเภท ได้แก่ Application เพื่อการเรียนรู้ เนื้อหาเสริมการเรียน (Content) เกมส์ฝึกหรือเสริมการเรียน (Game) และเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ (Tool) และหน้า Homepage ของ Edu Store ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวม Application เพื่อการเรียนรู้สำหรับใช้งานร่วมกับแท็บเล็ตที่นักเรียนและผู้ใช้สามารถ download มาใช้งานได้ฟรี ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่ สพฐ. ศธ. หรือสมัครทางเว็บไซต์ www.techno.bopp.go.th  และ www.obec.go.th  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ โดยจะมีโล่และเงินรางวัลมอบให้สำหรับผู้ชนะการประกวดด้วย


•การขยายระบบเครือข่าย

ที่ประชุมรับทราบแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพสื่อสัญญาณที่ใช้เชื่อมโยงกับ แท็บเล็ตในปี ๒๕๕๖ ซึ่ง TOT ร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาและขยายระบบเครือข่ายทั้งในรูปแบบ Fiber Optic, ADSL/Winet และ Satellite จากเดิมครอบคลุม ๑๐,๙๙๖ โรงเรียน ให้ครอบคลุมถึง ๓๐,๖๒๗ โรงเรียน ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖


•การติดตามและทดสอบโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการใช้แท็บเล็ต

ที่ประชุมรับทราบผลการติดตามและทดสอบโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการใช้แท็บเล็ตในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีของ สพฐ. เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ให้สามารถใช้แท็บเล็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดช่องว่างความแตกต่าง โดยจัดทดสอบในโรงเรียน ๓ กลุ่ม คือ โรงเรียนในเมืองที่มีระบบ Fiber Optic โรงเรียนชานเมืองที่มีระบบ ADSL และโรงเรียนชนบทที่ใช้ระบบ Satellite ซึ่งพบว่ โรงเรียนที่ใช้ระบบ Fiber Optic และ ADSL สามารถใช้งาน Access Point เพื่อใช้แท็บเล็ตและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ดี แต่โรงเรียนที่ใช้ระบบ Satellite ยังมีปัญหา


ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2012/aug/232.html

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวปฏิบัติในการแจกคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)



ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แจกจ่าย Tablet xป.1 ให้แก่โรงเรียนในสังกัด แล้วนั้น ในการนี้ขอแจ้งให้ทราบว่า หากโรงเรียนได้รับเครื่อง Tablet แล้ว ภายใน 15 วัน หากเครื่อง Tablet ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ขายจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ภายใน 5 วันทำการ(ตามเงื่อนไขการรับประกัน)
ทั้งนี้โรงเรียนสามารถส่งเครื่องเปลี่ยนได้โดยตรงที่ศูนย์บริการหลังการขายทั่วประเทศ
รายละเอียด http://www.advice.co.th/otpc/
สิ่งที่แนบมาด้วย:

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปการใช้งาน Google Apps ในองค์กร KKU Google Apps For Education

รูปแบบการใช้งาน Google Apps ในองค์กร ซึ่่ง สพม.31 จะนำมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาวิจัยและพัฒนานำมาใช้ในองค์กร โดยคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้




การดำเนินงานด้านไอซีที ปี 2556 ของ สพม.31


     วันนี้ (24 สค.55) ผมได้เข้าร่วมประชุมดำเนินงานของกลุ่มอำนวยการ ซึ่งมีวาระสำคัญๆ หลายๆ วาระ โดยที่ประชุมได้สอบถามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์ไอซีที เนื่องจากมีปัญหาเกี่ียวกับระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ผมได้ชี้แจงที่ประชุมเกี่ยวกับปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตว่า เดิมเราใช้ ADSL ของ TOT ในการแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตของสำนักงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นหลักๆ ได้แก่ ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตของ TOT เอง (ระยะนี้ ADSL ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้ามีปัญหาการบริการของ TOT ค่อนข้างจะล่าช้า) จึงอยากใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มเติม โดยไอซีทีได้ขออนุมัติเช่าอินเทอร์จากผู้ให้บริการเพิ่มเติมแล้ว และผมได้ติดต่ออินเทอร์เน็ตของทรู กับ 3BB แต่ไม่มีรายใดให้บริการได้ถึง สพม. จึงยังต้องใช้บริการจาก TOT เช่นเดิม (ซึ่งไม่อยากให้เป็นแบบนั้น) ซึ่งคาดว่าจะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตสะดวกมากขึ้น ไม่มีปัญหาเหมือนเช่นเดิม ส่วนปัญหาระบบเครือข่ายภายใน ในสัปดาห์นี้ผมได้ให้ช่างมาช่วยจัดการวางระบบเครือข่ายเพิ่มเติม โดยจะติดตั้ง Access Point และปรับปรุงเครือข่ายภายใน ส่วนอีกประเด็นของไอซีที คือเรื่องเว็บไซต์ของ สพม. ปัจุบันเราใช้ระบบ CMS ของ Joomla ยังคงเป็นเวอร์ชั่นเดิม แต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงหน้าตาเว็บ ซึ่งผู้บริหารอยากให้เว็บไซต์มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ซึ่งในสัปดาห์หน้าไอซีทีจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไอซีที เพื่อมาร่วมกันวางแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


     ส่วนแนวทางการดำเนินการไอซีทีในปี 2556 ได้วางแผนไว้ว่าเราจะพัฒนาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า โดยพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มี เช่น ระบบ Google App, ระบบสำนักงานอิเล็คทรอนิคส์ ใช้งานอย่างจริงๆ จัง จนใกล้เคียงการเป็นสำนักงานไร้กระดาษ บริการหลายๆ อย่างของ Google จะพัฒนาให้บุคลากรเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ได้จริง แล้วขยายผลไปสู่โรงเรียน คือต้องเริ่มจากในสำนักงานก่อน รวมทั้งจะศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น คลาวน์ นำมาประยุกต์ในสำนักงาน พบกันคราวต่อไปครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ


การดําเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อมุ่งเน้นสู่การบรรลุเป้าหมายสําคัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Milestones) กล่าวคือ ได้กําหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องมีเว็บไซต์ เพื่อให้บริการตามภารกิจและนําเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ตามหลักการที่กล่าวว่า “ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา ทั่วถึง เท่าเทียม และธรรมาภิบาล” นั้น เพื่อให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ ของหน่วยงานภาครัฐก้าวไปสู่ระดับความสามารถในเรื่องการบูรณาการ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน หน่วยงานราชการ และหน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
 
          จากการสํารวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนา e-Government กลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness)  ในรายงาน United Nations E-Government Survey  2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 92 จากจํานวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งปี ค.ศ. 2010 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 76 และปี ค.ศ. 2008 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 64 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้ อย่างภาคภูมิ และเพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู้การเชื่อมโยงหน่วยงาน ภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทาง อิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)
 
          สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนา “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้ บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ อันจะช่วยยกระดับการพัฒนา e-Government  ให้ก้าวหน้าสู่ระดับมาตรฐานสากลต่อไป โดยเนื้อหาเอกสารเล่มนี้ กล่าวถึงองค์ประกอบของเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents) คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features) รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกําหนดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนา e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ(International Best Practice)
 
*สามารถ Download มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐตาม Link ด้านล่าง
ไฟล์แนบ
 มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)

  ที่มา http://www.ega.or.th/Content.aspx?m_id=96