รูปแบบการใช้งาน Google Apps ในองค์กร ซึ่่ง สพม.31 จะนำมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาวิจัยและพัฒนานำมาใช้ในองค์กร โดยคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
การดำเนินงานด้านไอซีที ปี 2556 ของ สพม.31
วันนี้ (24 สค.55) ผมได้เข้าร่วมประชุมดำเนินงานของกลุ่มอำนวยการ ซึ่งมีวาระสำคัญๆ หลายๆ วาระ โดยที่ประชุมได้สอบถามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์ไอซีที เนื่องจากมีปัญหาเกี่ียวกับระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ผมได้ชี้แจงที่ประชุมเกี่ยวกับปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตว่า เดิมเราใช้ ADSL ของ TOT ในการแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตของสำนักงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นหลักๆ ได้แก่ ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตของ TOT เอง (ระยะนี้ ADSL ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้ามีปัญหาการบริการของ TOT ค่อนข้างจะล่าช้า) จึงอยากใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มเติม โดยไอซีทีได้ขออนุมัติเช่าอินเทอร์จากผู้ให้บริการเพิ่มเติมแล้ว และผมได้ติดต่ออินเทอร์เน็ตของทรู กับ 3BB แต่ไม่มีรายใดให้บริการได้ถึง สพม. จึงยังต้องใช้บริการจาก TOT เช่นเดิม (ซึ่งไม่อยากให้เป็นแบบนั้น) ซึ่งคาดว่าจะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตสะดวกมากขึ้น ไม่มีปัญหาเหมือนเช่นเดิม ส่วนปัญหาระบบเครือข่ายภายใน ในสัปดาห์นี้ผมได้ให้ช่างมาช่วยจัดการวางระบบเครือข่ายเพิ่มเติม โดยจะติดตั้ง Access Point และปรับปรุงเครือข่ายภายใน ส่วนอีกประเด็นของไอซีที คือเรื่องเว็บไซต์ของ สพม. ปัจุบันเราใช้ระบบ CMS ของ Joomla ยังคงเป็นเวอร์ชั่นเดิม แต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงหน้าตาเว็บ ซึ่งผู้บริหารอยากให้เว็บไซต์มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ซึ่งในสัปดาห์หน้าไอซีทีจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไอซีที เพื่อมาร่วมกันวางแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ส่วนแนวทางการดำเนินการไอซีทีในปี 2556 ได้วางแผนไว้ว่าเราจะพัฒนาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า โดยพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มี เช่น ระบบ Google App, ระบบสำนักงานอิเล็คทรอนิคส์ ใช้งานอย่างจริงๆ จัง จนใกล้เคียงการเป็นสำนักงานไร้กระดาษ บริการหลายๆ อย่างของ Google จะพัฒนาให้บุคลากรเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ได้จริง แล้วขยายผลไปสู่โรงเรียน คือต้องเริ่มจากในสำนักงานก่อน รวมทั้งจะศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น คลาวน์ นำมาประยุกต์ในสำนักงาน พบกันคราวต่อไปครับ
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
การดําเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อมุ่งเน้นสู่การบรรลุเป้าหมายสําคัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Milestones) กล่าวคือ ได้กําหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องมีเว็บไซต์ เพื่อให้บริการตามภารกิจและนําเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ตามหลักการที่กล่าวว่า “ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา ทั่วถึง เท่าเทียม และธรรมาภิบาล” นั้น เพื่อให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ ของหน่วยงานภาครัฐก้าวไปสู่ระดับความสามารถในเรื่องการบูรณาการ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน หน่วยงานราชการ และหน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
จากการสํารวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนา e-Government
กลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government
Readiness) ในรายงาน United Nations E-Government Survey 2012 พบว่า
ประเทศไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 92 จากจํานวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ
ซึ่งปี ค.ศ. 2010 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 76 และปี ค.ศ. 2008
ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 64 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไข
ปรับปรุง และพัฒนา
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้
อย่างภาคภูมิ
และเพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู้การเชื่อมโยงหน่วยงาน
ภาครัฐ (Connected Government)
โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทาง
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)
สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนา
“มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)”
เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้
บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ อันจะช่วยยกระดับการพัฒนา e-Government
ให้ก้าวหน้าสู่ระดับมาตรฐานสากลต่อไป โดยเนื้อหาเอกสารเล่มนี้
กล่าวถึงองค์ประกอบของเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents)
คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features)
รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security)
ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกําหนดองค์การสหประชาชาติ (United
Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนา e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก
ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ(International Best
Practice)
ไฟล์แนบ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard) |
ที่มา http://www.ega.or.th/Content.aspx?m_id=96 |
โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)
โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service) |
โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)
• ที่มาโครงการ
ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้งบประมาณในการจัดซื้อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจตลาด IT ประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวปี 2554 ร้อยละ 15.60 โดยคิดเป็นมูลค่าตลาด 293,239ล้านบาท และหากพิจารณาค่าใช้จ่ายจำแนกตามภาคผู้ใช้งานจะพบว่าภาครัฐมีการใช้จ่ายด้าน IT คิดเป็นประมาณร้อยละ 20.4 หรือ 59,818 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในส่วนของบริการด้าน Data Center and Disaster Recovery Center พบว่าภาพรวมมีมูลค่าตลาดในปี 2554 เท่ากับ 6,903 ล้านบาท โดยภาครัฐมีการใช้จ่ายในส่วนนี้ถึง 2,567ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 เพื่อใช้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Center) จัดหาครุภัณฑ์เครื่องแม่ข่ายและระบบ หรือใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความ ต่อเนื่องของการให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐไปยังภาคประชาชน แต่นอกจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วความเชี่ยวชาญของบุคลากร ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในการดูแลบำรุงรักษาระบบให้พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมาตรการในการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติก็เป็นอีกปัจจัย หลักที่ควรจะต้องมีการพิจารณาในการลงทุนเพิ่มเติม
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาด้านการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการระบบ IT แก่ภาครัฐ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มอบหมายให้ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย บุคลากรในการช่วยเหลือและสนับสนุน รวมถึงการบริหารจัดการ ทำการศึกษาและทดสอบระบบ Cloud Computing เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปสู่ Government Cloud ของประเทศ โดยปัจจุบันคาดการณ์ว่ามูลค่าการใช้บริการ Cloud Computing และ SaaS ในประเทศไทยจะคิดเป็นประมาณ 2,089 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโต 22.9% โดยเป็นกลุ่มผู้ใช้งานรัฐและเอกชนถึงร้อยละ 71.3 หรือ 180,821 ล้านบาท
• ที่มาโครงการ
ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้งบประมาณในการจัดซื้อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจตลาด IT ประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวปี 2554 ร้อยละ 15.60 โดยคิดเป็นมูลค่าตลาด 293,239ล้านบาท และหากพิจารณาค่าใช้จ่ายจำแนกตามภาคผู้ใช้งานจะพบว่าภาครัฐมีการใช้จ่ายด้าน IT คิดเป็นประมาณร้อยละ 20.4 หรือ 59,818 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในส่วนของบริการด้าน Data Center and Disaster Recovery Center พบว่าภาพรวมมีมูลค่าตลาดในปี 2554 เท่ากับ 6,903 ล้านบาท โดยภาครัฐมีการใช้จ่ายในส่วนนี้ถึง 2,567ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 เพื่อใช้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Center) จัดหาครุภัณฑ์เครื่องแม่ข่ายและระบบ หรือใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความ ต่อเนื่องของการให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐไปยังภาคประชาชน แต่นอกจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วความเชี่ยวชาญของบุคลากร ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในการดูแลบำรุงรักษาระบบให้พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมาตรการในการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติก็เป็นอีกปัจจัย หลักที่ควรจะต้องมีการพิจารณาในการลงทุนเพิ่มเติม
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาด้านการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการระบบ IT แก่ภาครัฐ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มอบหมายให้ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย บุคลากรในการช่วยเหลือและสนับสนุน รวมถึงการบริหารจัดการ ทำการศึกษาและทดสอบระบบ Cloud Computing เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปสู่ Government Cloud ของประเทศ โดยปัจจุบันคาดการณ์ว่ามูลค่าการใช้บริการ Cloud Computing และ SaaS ในประเทศไทยจะคิดเป็นประมาณ 2,089 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโต 22.9% โดยเป็นกลุ่มผู้ใช้งานรัฐและเอกชนถึงร้อยละ 71.3 หรือ 180,821 ล้านบาท
• วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อศึกษาแนวทางในการให้บริการ Cloud Computing แก่หน่วยงานภาครัฐ และพัฒนาไปสู่การให้บริการ
- เพื่อเป็นแนวทางในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับระบบและข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ
- เพื่อศึกษาการลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณภาครัฐในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบเพื่อให้บริการประชาชนแก่หน่วยงานภาครัฐ ที่ร่วมโครงการ
- เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทัดเทียมกับนานาประเทศ
- เพื่อศึกษาแนวทางในการให้บริการ Cloud Computing แก่หน่วยงานภาครัฐ และพัฒนาไปสู่การให้บริการ
- เพื่อเป็นแนวทางในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับระบบและข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ
- เพื่อศึกษาการลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณภาครัฐในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบเพื่อให้บริการประชาชนแก่หน่วยงานภาครัฐ ที่ร่วมโครงการ
- เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทัดเทียมกับนานาประเทศ
ภาพ การใช้บริการของอุปกรณ์สื่อสารในระบบ Government Cloud Service
• ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ประโยชน์ต่อภาครัฐ
ระยะสั้น การบริหารการจัดการระบบเครือข่ายและระบบในการให้บริการภาคประชาชนของหน่วย งานรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% จากตัวเลขที่ในระดับโลกประเมินมาแล้ว
ระยะยาว เมื่อมีการรวมระบบงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่ Government Cloud Service แล้วจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายตามไปด้วย เสริมสร้างความมั่นใจในการให้บริการ สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤติ หรือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็น Smart Network ในอนาคต
- ประโยชน์ต่อภาคประชาชนในการได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
ระยะสั้น จะเกิดบริการของภาครัฐใหม่ๆ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น โดยระบบจะมีการปรับแต่งให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ระบบจะมีความเสถียรและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง
ระยะยาว ธุรกรรมทางด้านออนไลน์ของภาคประชาชนกับภาครัฐจะเติบโตขึ้น สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่าย ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการประชาชนด้วยระบบที่ทำงานอย่างมีแบบ แผนเป็นขั้นตอนชัดเจน
website ที่เกี่ยวข้อง http://cloud.ega.or.th/ - ประโยชน์ต่อภาครัฐ
ระยะสั้น การบริหารการจัดการระบบเครือข่ายและระบบในการให้บริการภาคประชาชนของหน่วย งานรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% จากตัวเลขที่ในระดับโลกประเมินมาแล้ว
ระยะยาว เมื่อมีการรวมระบบงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่ Government Cloud Service แล้วจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายตามไปด้วย เสริมสร้างความมั่นใจในการให้บริการ สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤติ หรือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็น Smart Network ในอนาคต
- ประโยชน์ต่อภาคประชาชนในการได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
ระยะสั้น จะเกิดบริการของภาครัฐใหม่ๆ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น โดยระบบจะมีการปรับแต่งให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ระบบจะมีความเสถียรและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง
ระยะยาว ธุรกรรมทางด้านออนไลน์ของภาคประชาชนกับภาครัฐจะเติบโตขึ้น สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่าย ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการประชาชนด้วยระบบที่ทำงานอย่างมีแบบ แผนเป็นขั้นตอนชัดเจน
ที่มา http://ega.or.th/Content.aspx?c_id=191
วิธีการอัพโหลดรูปภาพจากเว็บขึ้น Facebook โดยไม่ต้อง Save รูป !!
ตามปกติโดยทั่วไปหลายท่านคงเจอรูป
เด็ดๆจากเว็บไซต์ แล้วมักจะต้องเสียเวลาคลิก Save รูป
แล้วก็เวลาอัพโหลดขึ้น Facebook ก็ต้องมาเลือกหาภาพที่คุณ Save
ภาพจากเว็บไซต์ไว้ก่อนอัพโหลด
แต่เทคนิคที่จะนำเสนอวันนี้จะเป็นการอัพโหลดรูปภาพจากเว็บไซต์ขึ้น Facebook
ทันทีโดยไม่ต้องSave ภาพเลย ซึ่งวิธีที่ว่านี้ก็คือใช้ที่อยู่ URL รูปภาพ
มาอัพโหลดขึ้น Facebook
วิธีการอัพโหลดรูปภาพบนเว็บขึ้น Facebook ทันทีโดยใช้ URL ของภาพขึ้น Facebook
ขั้นตอนแรก เลื่อนลูกศรเมาส์ ไปชี้ที่รูปบนเว็บที่ต้องการจะแชร์รูปขึ้น Facebook จากนั้นคลิกขวาที่รูป เลือก คัดลอก URL รูปภาพ (“Copy image URL” )แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ Facebook (Login เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย) แล้ว ไปคลิกตรง อัพเดตสถานะ จากนั้น คลิกที่ “อัพโหลดรูปภาพ / วีดีโอ” ดังรูปบน ซึ่งก็เหมือนกับขั้นตอนการอัพโหลดแชร์รูปบน Facebook ทั่วไป
แต่ ที่จะต่างจากขั้นตอนการอัพโหลดรูปแชร์ Facebook ทั่วไป ก็คือ แทนที่จะต้องหาไฟล์ที่ save รูปภาพบนเครื่อง เพื่อมาอัพโหลดบน facebook คราวนี้ไม่ต้องแล้ว ใช้ลิงค์ที่อยู่ URL รูปภาพบนเว็บ มาวางในช่อง File name ได้เลย แล้วคลิกที่ Open
แค่นี้ก็ได้แชร์รูปภาพจากหน้าเว็บไซต์ขึ้น Facebook โดยไม่ต้อง Save รูปภาพแล้ว ซึ่งสะดวกและรวดเร็วจริงๆ
ข้อมูลจาก Sharon Vaknin บรรณาธิการข่าว Cnet โดยทิปแนะนำจาก George Takei
วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555
การพัฒนาเว็บไซต์ศูนย์ไอซีที สพม.31
ผมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานศูนย์ไอซีที ของ สพม.31 งานแรกเลยที่ตั้งใจจะดำเนินการคือพัฒนาเว็บไซต์ของศูนย์ฯ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การสื่อสารงานไอซีทีของ สพม.31 กับผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจ โดยจะพัฒนาด้วยเครื่องมือของ Google ซึ่งก็ได้แก่ Site ที่มีความคุ้นเคยแล้วบ้าง ตอนนี้เลือกแม่แบบไว้เรียบร้อยแล้ว ฝากมาแวะชมกันเรื่อยๆ นะครับ
https://sites.google.com/site/knowledge4kru/
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เจาะลึก Windows 8 RTM
โดย ในคลิปจะพูดถึงส่วนเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นใน Windows 8 RTM จากเวอร์ชันก่อนหน้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าผู้ชมอยากรับชมรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถรับชมได้จากลิงค์ ด้านล่าง
สำรวจ Windows 8 Consumer Preview (มีวิดีโอรีวิว)
Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 1 - ประสิทธิภาพโดยรวม)
Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 2 - เจาะลึก Metro App และหน้าจอตั้งค่า)
Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 3 - ทดสอบร่วมกับพีซีหน้าจอสัมผัส)
รีวิว Windows 8 RTM
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)