วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผลการประชุมเกี่ยวกับแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
 
ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย ๑ แท็บเล็ต ต่อ ๑ นักเรียน ครั้งที่ ๗

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย ๑ คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ ๑ นักเรียน ครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

•การกำหนดร่างขอบเขตของงาน TOR แท็บเล็ตสำหรับครูใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนชั้น ป.๑

ที่ประชุมอนุมัติให้คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน TOR แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน รับผิดชอบการกำหนดร่างขอบเขตของงาน TOR แท็บเล็ตสำหรับครู เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียนชั้น ป.๑ ซึ่งมีข้อแตกต่างจากแท็บเล็ตของนักเรียน คือ มีสาย USB เพื่อเชื่อมโยงไปยังจอ Projector โดยให้คณะกรรมการไปจัดทำกำหนดคุณลักษณะ และกระบวนการจัดซื้อ เสนอขอความเห็นชอบจาก รมว.ศธ.และส่งต่อไปยังกระทรวง ICT เพื่อดำเนินการต่อไป 





•ผลการตอบรับการใช้แท็บเล็ต

ที่ประชุมรับทราบผลการตอบรับจากผู้ใช้แท็บเล็ตและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในส่วนของ สพฐ. และ สช. ซึ่งครูส่วนใหญ่พอใจต่อการใช้งานแท็บเล็ต ไม่ว่าจะเป็น Content, Application เพราะสามารถใช้งานได้ง่ายและเกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน อีกทั้งนักเรียนยังให้ความสนใจและให้การตอบรับที่ดี สำหรับการจัดอบรมครูผู้สอน ทาง สพฐ.และ สช.อบรมโดยใช้วิทยากรร่วมกันทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งในกรุงเทพฯ จัดอบรมแล้ว ๖ รุ่น กว่า ๖๐๐ คน โดยวิทยากรได้นำแผนการสอนของครูมาใช้ควบคู่กับแท็บเล็ตในการเรียนการสอนวิชา ต่างๆ ด้วย



•การจัดส่งและลงทะเบียน

ที่ประชุมรับทราบข้อมูลการจัดส่งและการลงทะเบียนแท็บเล็ต ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ซึ่ง สพฐ.ได้นำส่งแท็บเล็ตทั้งหมด ๔ รอบใน ๕๕ จังหวัดใน ๑๓๓ เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๒๙๑,๗๗๖ เครื่อง และคาดว่าในต้นเดือนกันยายนจะสามารถส่งแท็บเล็ตรอบสุดท้าย จำนวน ๑๐๖,๒๒๔ เครื่องใน ๒๒ จังหวัด ๕๐ เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับแท็บเล็ตจำนวนกว่า ๔๐๐,๐๐๐ เครื่องครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษาใน ๗๗ จังหวัด สำหรับส่วนที่เหลืออีกกว่า ๔๐๐,๐๐๐ เครื่องจะทยอยจัดส่งตามมา



•การซ่อมบำรุง และ Call Center

ที่ประชุมรับทราบข้อมูลการเปิดศูนย์ซ่อมบำรุงของบริษัทเสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ จำนวน ๑๑๔ สาขา ซึ่งมีขั้นตอนการส่งซ่อม ๒ ช่องทาง คือ ส่งซ่อมที่โรงเรียน จากนั้นโรงเรียนจะรวบรวมส่งศูนย์ หรือส่งซ่อมเองที่ศูนย์ซ่อมบำรุง หรือจะส่งทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยต้องกรอกข้อมูลในใบนำส่งซ่อมประกอบการซ่อมด้วย นอกจากนี้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT) ได้เปิดบริการ Call Center หมายเลข ๑๑๑๑ กด ๘ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการใช้แท็บเล็ตของนักเรียน ป.๑ ตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายนเป็นต้นมา โดยให้บริการข้อมูลของโครงการ การจัดส่ง ให้คำแนะนำการใช้งานแท็บเล็ตและข้อมูลต่างๆ รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนและรับข้อเสนอแนะ



•การประกวดสื่อเรียนรู้ สู่แท็บเล็ต

ที่ประชุมรับทราบการจัดประกวดสื่อเรียนรู้สำหรับแท็บเล็ต เพื่อส่งเสริมให้มีสื่อที่มีคุณภาพ สนับสนุนและกระตุ้นให้ประชาชนและภาคเอกชนพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Application บนระบบปฏิบัติการ Android เพื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนบรรจุลงในแท็บเล็ตและคลังสื่อ (Edu Store) ต่อไป โดยได้เปิดโอกาสให้ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ และนิติบุคคล ส่งผลงานเข้าประกวดใน ๒ ประเภท ได้แก่ Application เพื่อการเรียนรู้ เนื้อหาเสริมการเรียน (Content) เกมส์ฝึกหรือเสริมการเรียน (Game) และเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ (Tool) และหน้า Homepage ของ Edu Store ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวม Application เพื่อการเรียนรู้สำหรับใช้งานร่วมกับแท็บเล็ตที่นักเรียนและผู้ใช้สามารถ download มาใช้งานได้ฟรี ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับใบสมัครได้ที่ สพฐ. ศธ. หรือสมัครทางเว็บไซต์ www.techno.bopp.go.th  และ www.obec.go.th  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ โดยจะมีโล่และเงินรางวัลมอบให้สำหรับผู้ชนะการประกวดด้วย


•การขยายระบบเครือข่าย

ที่ประชุมรับทราบแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพสื่อสัญญาณที่ใช้เชื่อมโยงกับ แท็บเล็ตในปี ๒๕๕๖ ซึ่ง TOT ร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาและขยายระบบเครือข่ายทั้งในรูปแบบ Fiber Optic, ADSL/Winet และ Satellite จากเดิมครอบคลุม ๑๐,๙๙๖ โรงเรียน ให้ครอบคลุมถึง ๓๐,๖๒๗ โรงเรียน ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖


•การติดตามและทดสอบโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการใช้แท็บเล็ต

ที่ประชุมรับทราบผลการติดตามและทดสอบโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อสนับสนุนการใช้แท็บเล็ตในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีของ สพฐ. เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ให้สามารถใช้แท็บเล็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดช่องว่างความแตกต่าง โดยจัดทดสอบในโรงเรียน ๓ กลุ่ม คือ โรงเรียนในเมืองที่มีระบบ Fiber Optic โรงเรียนชานเมืองที่มีระบบ ADSL และโรงเรียนชนบทที่ใช้ระบบ Satellite ซึ่งพบว่ โรงเรียนที่ใช้ระบบ Fiber Optic และ ADSL สามารถใช้งาน Access Point เพื่อใช้แท็บเล็ตและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ดี แต่โรงเรียนที่ใช้ระบบ Satellite ยังมีปัญหา


ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2012/aug/232.html

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวปฏิบัติในการแจกคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)



ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แจกจ่าย Tablet xป.1 ให้แก่โรงเรียนในสังกัด แล้วนั้น ในการนี้ขอแจ้งให้ทราบว่า หากโรงเรียนได้รับเครื่อง Tablet แล้ว ภายใน 15 วัน หากเครื่อง Tablet ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ขายจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ภายใน 5 วันทำการ(ตามเงื่อนไขการรับประกัน)
ทั้งนี้โรงเรียนสามารถส่งเครื่องเปลี่ยนได้โดยตรงที่ศูนย์บริการหลังการขายทั่วประเทศ
รายละเอียด http://www.advice.co.th/otpc/
สิ่งที่แนบมาด้วย:

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปการใช้งาน Google Apps ในองค์กร KKU Google Apps For Education

รูปแบบการใช้งาน Google Apps ในองค์กร ซึ่่ง สพม.31 จะนำมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาวิจัยและพัฒนานำมาใช้ในองค์กร โดยคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้




การดำเนินงานด้านไอซีที ปี 2556 ของ สพม.31


     วันนี้ (24 สค.55) ผมได้เข้าร่วมประชุมดำเนินงานของกลุ่มอำนวยการ ซึ่งมีวาระสำคัญๆ หลายๆ วาระ โดยที่ประชุมได้สอบถามปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์ไอซีที เนื่องจากมีปัญหาเกี่ียวกับระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ผมได้ชี้แจงที่ประชุมเกี่ยวกับปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตว่า เดิมเราใช้ ADSL ของ TOT ในการแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตของสำนักงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นหลักๆ ได้แก่ ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตของ TOT เอง (ระยะนี้ ADSL ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้ามีปัญหาการบริการของ TOT ค่อนข้างจะล่าช้า) จึงอยากใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มเติม โดยไอซีทีได้ขออนุมัติเช่าอินเทอร์จากผู้ให้บริการเพิ่มเติมแล้ว และผมได้ติดต่ออินเทอร์เน็ตของทรู กับ 3BB แต่ไม่มีรายใดให้บริการได้ถึง สพม. จึงยังต้องใช้บริการจาก TOT เช่นเดิม (ซึ่งไม่อยากให้เป็นแบบนั้น) ซึ่งคาดว่าจะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตสะดวกมากขึ้น ไม่มีปัญหาเหมือนเช่นเดิม ส่วนปัญหาระบบเครือข่ายภายใน ในสัปดาห์นี้ผมได้ให้ช่างมาช่วยจัดการวางระบบเครือข่ายเพิ่มเติม โดยจะติดตั้ง Access Point และปรับปรุงเครือข่ายภายใน ส่วนอีกประเด็นของไอซีที คือเรื่องเว็บไซต์ของ สพม. ปัจุบันเราใช้ระบบ CMS ของ Joomla ยังคงเป็นเวอร์ชั่นเดิม แต่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงหน้าตาเว็บ ซึ่งผู้บริหารอยากให้เว็บไซต์มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ซึ่งในสัปดาห์หน้าไอซีทีจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการไอซีที เพื่อมาร่วมกันวางแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


     ส่วนแนวทางการดำเนินการไอซีทีในปี 2556 ได้วางแผนไว้ว่าเราจะพัฒนาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า โดยพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มี เช่น ระบบ Google App, ระบบสำนักงานอิเล็คทรอนิคส์ ใช้งานอย่างจริงๆ จัง จนใกล้เคียงการเป็นสำนักงานไร้กระดาษ บริการหลายๆ อย่างของ Google จะพัฒนาให้บุคลากรเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ได้จริง แล้วขยายผลไปสู่โรงเรียน คือต้องเริ่มจากในสำนักงานก่อน รวมทั้งจะศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น คลาวน์ นำมาประยุกต์ในสำนักงาน พบกันคราวต่อไปครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ


การดําเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อมุ่งเน้นสู่การบรรลุเป้าหมายสําคัญของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Milestones) กล่าวคือ ได้กําหนดให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องมีเว็บไซต์ เพื่อให้บริการตามภารกิจและนําเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ตามหลักการที่กล่าวว่า “ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา ทั่วถึง เท่าเทียม และธรรมาภิบาล” นั้น เพื่อให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยกระดับความสามารถของการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ ของหน่วยงานภาครัฐก้าวไปสู่ระดับความสามารถในเรื่องการบูรณาการ และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน หน่วยงานราชการ และหน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ ให้สามารถก้าวไปสู่จุดหมายของการบูรณาการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
 
          จากการสํารวจเพื่อจัดอันดับการพัฒนา e-Government กลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness)  ในรายงาน United Nations E-Government Survey  2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 92 จากจํานวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งปี ค.ศ. 2010 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 76 และปี ค.ศ. 2008 ไทยจัดอยู่ในลําดับที่ 64 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้ อย่างภาคภูมิ และเพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู้การเชื่อมโยงหน่วยงาน ภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทาง อิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)
 
          สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จึงได้พัฒนา “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อเป็นมาตรฐานให้หน่วยงานภาครัฐได้นําไปปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้ บริการผ่านเว็บไซต์ของภาครัฐ อันจะช่วยยกระดับการพัฒนา e-Government  ให้ก้าวหน้าสู่ระดับมาตรฐานสากลต่อไป โดยเนื้อหาเอกสารเล่มนี้ กล่าวถึงองค์ประกอบของเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents) คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features) รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกําหนดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนา e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ(International Best Practice)
 
*สามารถ Download มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐตาม Link ด้านล่าง
ไฟล์แนบ
 มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)

  ที่มา http://www.ega.or.th/Content.aspx?m_id=96

โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)


โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)



โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)
•    ที่มาโครงการ 
     ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้งบประมาณในการจัดซื้อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจตลาด IT ประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวปี 2554 ร้อยละ 15.60 โดยคิดเป็นมูลค่าตลาด 293,239ล้านบาท และหากพิจารณาค่าใช้จ่ายจำแนกตามภาคผู้ใช้งานจะพบว่าภาครัฐมีการใช้จ่ายด้าน IT คิดเป็นประมาณร้อยละ 20.4 หรือ 59,818 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในส่วนของบริการด้าน Data Center and Disaster Recovery Center พบว่าภาพรวมมีมูลค่าตลาดในปี 2554 เท่ากับ 6,903 ล้านบาท โดยภาครัฐมีการใช้จ่ายในส่วนนี้ถึง 2,567ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 เพื่อใช้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Center) จัดหาครุภัณฑ์เครื่องแม่ข่ายและระบบ หรือใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความ ต่อเนื่องของการให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐไปยังภาคประชาชน แต่นอกจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วความเชี่ยวชาญของบุคลากร ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในการดูแลบำรุงรักษาระบบให้พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมาตรการในการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติก็เป็นอีกปัจจัย หลักที่ควรจะต้องมีการพิจารณาในการลงทุนเพิ่มเติม 
     ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาด้านการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการระบบ IT แก่ภาครัฐ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มอบหมายให้ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย บุคลากรในการช่วยเหลือและสนับสนุน รวมถึงการบริหารจัดการ ทำการศึกษาและทดสอบระบบ Cloud Computing เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปสู่ Government Cloud ของประเทศ โดยปัจจุบันคาดการณ์ว่ามูลค่าการใช้บริการ Cloud Computing และ SaaS ในประเทศไทยจะคิดเป็นประมาณ 2,089 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโต 22.9% โดยเป็นกลุ่มผู้ใช้งานรัฐและเอกชนถึงร้อยละ 71.3  หรือ 180,821 ล้านบาท
    วัตถุประสงค์โครงการ
     - เพื่อศึกษาแนวทางในการให้บริการ Cloud Computing แก่หน่วยงานภาครัฐ และพัฒนาไปสู่การให้บริการ 
     - เพื่อเป็นแนวทางในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับระบบและข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ
     - เพื่อศึกษาการลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณภาครัฐในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบเพื่อให้บริการประชาชนแก่หน่วยงานภาครัฐ ที่ร่วมโครงการ
     - เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทัดเทียมกับนานาประเทศ
ภาพ การใช้บริการของอุปกรณ์สื่อสารในระบบ Government Cloud Service
•    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ประโยชน์ต่อภาครัฐ
ระยะสั้น การบริหารการจัดการระบบเครือข่ายและระบบในการให้บริการภาคประชาชนของหน่วย งานรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% จากตัวเลขที่ในระดับโลกประเมินมาแล้ว 
ระยะยาว เมื่อมีการรวมระบบงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่ Government Cloud Service แล้วจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายตามไปด้วย เสริมสร้างความมั่นใจในการให้บริการ สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤติ หรือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็น Smart Network ในอนาคต
- ประโยชน์ต่อภาคประชาชนในการได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
ระยะสั้น จะเกิดบริการของภาครัฐใหม่ๆ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น โดยระบบจะมีการปรับแต่งให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ระบบจะมีความเสถียรและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง 
ระยะยาว ธุรกรรมทางด้านออนไลน์ของภาคประชาชนกับภาครัฐจะเติบโตขึ้น สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่าย ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการประชาชนด้วยระบบที่ทำงานอย่างมีแบบ แผนเป็นขั้นตอนชัดเจน
website ที่เกี่ยวข้อง http://cloud.ega.or.th/

ที่มา http://ega.or.th/Content.aspx?c_id=191

วิธีการอัพโหลดรูปภาพจากเว็บขึ้น Facebook โดยไม่ต้อง Save รูป !!


โพสต์23 ส.ค. 2555, 2:30โดยVisoot Urawong
ตามปกติโดยทั่วไปหลายท่านคงเจอรูป เด็ดๆจากเว็บไซต์ แล้วมักจะต้องเสียเวลาคลิก Save รูป แล้วก็เวลาอัพโหลดขึ้น Facebook ก็ต้องมาเลือกหาภาพที่คุณ Save ภาพจากเว็บไซต์ไว้ก่อนอัพโหลด แต่เทคนิคที่จะนำเสนอวันนี้จะเป็นการอัพโหลดรูปภาพจากเว็บไซต์ขึ้น Facebook ทันทีโดยไม่ต้องSave ภาพเลย  ซึ่งวิธีที่ว่านี้ก็คือใช้ที่อยู่ URL รูปภาพ มาอัพโหลดขึ้น Facebook 

วิธีการอัพโหลดรูปภาพบนเว็บขึ้น Facebook ทันทีโดยใช้ URL ของภาพขึ้น Facebook

ขั้นตอนแรก เลื่อนลูกศรเมาส์ ไปชี้ที่รูปบนเว็บที่ต้องการจะแชร์รูปขึ้น Facebook จากนั้นคลิกขวาที่รูป เลือก  คัดลอก URL รูปภาพ (“Copy image URL” )
แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ Facebook (Login เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย)  แล้ว ไปคลิกตรง อัพเดตสถานะ จากนั้น คลิกที่ “อัพโหลดรูปภาพ / วีดีโอ”  ดังรูปบน  ซึ่งก็เหมือนกับขั้นตอนการอัพโหลดแชร์รูปบน Facebook ทั่วไป
แล้วคลิกที่ เลือกไฟล์ เพื่อหาภาพปกติ
แต่ ที่จะต่างจากขั้นตอนการอัพโหลดรูปแชร์ Facebook ทั่วไป ก็คือ   แทนที่จะต้องหาไฟล์ที่ save รูปภาพบนเครื่อง เพื่อมาอัพโหลดบน facebook คราวนี้ไม่ต้องแล้ว   ใช้ลิงค์ที่อยู่ URL รูปภาพบนเว็บ  มาวางในช่อง File name ได้เลย แล้วคลิกที่ Open
เสร็จแล้วก็จะได้ชื่อไฟล์รูปที่ว่านี้  ใส่ข้อความประกอบที่ต้องการแล้วคลิก โพสต์ ได้ทันที
แค่นี้ก็ได้แชร์รูปภาพจากหน้าเว็บไซต์ขึ้น Facebook โดยไม่ต้อง Save รูปภาพแล้ว ซึ่งสะดวกและรวดเร็วจริงๆ
 ข้อมูลจาก Sharon Vaknin บรรณาธิการข่าว Cnet โดยทิปแนะนำจาก George Takei

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาเว็บไซต์ศูนย์ไอซีที สพม.31


ผมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานศูนย์ไอซีที ของ สพม.31 งานแรกเลยที่ตั้งใจจะดำเนินการคือพัฒนาเว็บไซต์ของศูนย์ฯ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การสื่อสารงานไอซีทีของ สพม.31 กับผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจ โดยจะพัฒนาด้วยเครื่องมือของ Google ซึ่งก็ได้แก่ Site ที่มีความคุ้นเคยแล้วบ้าง ตอนนี้เลือกแม่แบบไว้เรียบร้อยแล้ว ฝากมาแวะชมกันเรื่อยๆ นะครับ

https://sites.google.com/site/knowledge4kru/

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เจาะลึก Windows 8 RTM






.....ประมาณ วันที่ 15 สิงหาคมที่จะถึงนี้ ทางไมโครซอฟท์จะพร้อมปล่อยดาวน์โหลด Windows 8 เวอร์ชัน Release To Manufacture ให้สมาชิก MSDN และ Technet ได้ดาวน์โหลดไปทดสอบ แต่เนื่องจากในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับ Windows 8 RTM Pro มาถึงมือก่อนกำหนดการ 1 วัน ก็เลยรีบติดตั้งและทำการทดสอบพร้อมจัดทำวิดีโอรีวิวมาให้พ่อแม่พี่น้องชาวไซ เบอร์ทีวีและไซเบอร์บิซได้รับชมก่อนใคร
       
       โดย ในคลิปจะพูดถึงส่วนเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นใน Windows 8 RTM จากเวอร์ชันก่อนหน้าเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าผู้ชมอยากรับชมรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถรับชมได้จากลิงค์ ด้านล่าง
       
       สำรวจ Windows 8 Consumer Preview (มีวิดีโอรีวิว)
        Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 1 - ประสิทธิภาพโดยรวม)
        Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 2 - เจาะลึก Metro App และหน้าจอตั้งค่า)
        Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 3 - ทดสอบร่วมกับพีซีหน้าจอสัมผัส)
       
       รีวิว Windows 8 RTM





ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

การจัดตั้งศุนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา ( แท็บเล็ต)

รายละเอียดการจัดตั้งศุนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา ( แท็บเล็ต)ทั่วประเทศ
สิ่งที่แนบมาด้วย: 
 

แจ้งผลการคัดเลือกและเชิญเข้าร่วมอบรมการใช้โปรแกรม OBECLMS จัดทำเว็บไซต์ของโรงเรียน

ตามที่ สพฐ. โดย สทร. ได้ประกาศรับสมัครโรงเรียนที่สนใจเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ obeclms เพื่อจัดทำเว็บไซต์ของโรงเรียนหรือหน่วยงาน นั้น
บัดนี้ สพฐ. ขอแจ้งรายชื่อโรงเรียนและหน่วยงาน ที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้าร่วมอบรมดังกล่าวรายละเอียดดังแนบ

อบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่ติดตามคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

อบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ชมอัลบั้มภาพทั้งหมด http://www.facebook.com/media/set/?set=a.464389333591945.107719.169864239711124&type=1

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"แอปเปิล"ขึ้นแท่นบ.มูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ "19 ล้านล้านบาท"



แอปเปิล อิงค์ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในประวัติศาสตร์หลังราคาหุ้นทะยานขึ้น แซงหน้าไมโครซอฟท์ทำสถิติไว้เมื่อเดือนธันวาคม 2542 โดยราคาแอปเปิล เจ้าของบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุด ครองแชมป์บริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดตลอดกาลแล้ว ด้วยมูลค่าทางการตลาดโดยประมาณที่ 6.23 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19.313 ล้านล้านบาท)

ด้วยตัวเลขดังกล่าว ทำให้แอปเปิลแซงหน้าไมโครซอฟท์ ที่เคยทำสถิติสูงสุดไว้ที่ 620,580 ล้านดอลลาร์ เมื่อเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1999 อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ได้ปรับอัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย

หุ้นของแอปเปิลทะยานแตะระดับสูงสุด 664.74  ดอลลาร์ต่อหุ้น ในการซื้อขายช่วงกลางวันวานนี้ ก่อนที่จะปิดที่ราคา 665.15 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 17 ดอลลาร์ หรือคิดเป็น 2.6% เมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์ว่า แอปเปิลอาจเปิดตัว"แอปเปิล ทีวี"ในเร็วๆนี้

โดยเมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อแล้ว ไมโครซอฟท์ ยังคงเป็นเจ้าของตำแหน่งบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ต่อไปได้ อย่างเหนียวแน่น โดเมื่อคำนวณมูลค่าตลาดของไมโครซอฟท์เมื่อปี 1999  จะมีมูลค่าประมาณ 8.425 แสนล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน หลังคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์มีมูลค่าตลาดที่ 2.57 แสนล้านดอลลาร์

ความแข็งแกร่งของค่าเงินดอลลาร์ที่มีต่อเงินยูโร ทำให้สินค้าที่ผลิตในสหรัฐฯมีราคาแพงขึ้นในตลาดต่างประเทศ อีกทั้งหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับความถดถอยในตลาดสำคัญอย่างยูโรป ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยากขึ้นด้วย

นอกจากนั้น แอปเปิลยังเจอคู่แข่งที่เร่งผลิตสินค้าประเภทเดียวกันออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กาแล็กซี เอส3 จากซัมซุง และวัน เอ็กซ์ จากเอชทีซี

ที่มา มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345519096&grpid=03&catid=06&subcatid=0600

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สอบนักศึกษาทุนฯ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการครู

วันนี้ Admin มาปฏิบัติหน้าที่ในการสอบคัดเลือกนักศึกษาทุนฯ เพื่อบรรจุเข้ารับราชการครู ที่ สพม.31 น้องๆ เหล่านี้เป็นนักศึกษาทุนฯ เมื่อเรียนจบแล้วก็มีโอกาสได้บรรจุเป็นข้าราชการครูเลย ไม่ต้องสอบแข่งขันทั่วไป (ที่มีการแข่งขันสูง) ยินดีด้วยกับทุกคนครับ

Canon EOS 550D TV Commercial

Review Canon EOS 550D

สำหรับคนที่กำลังสนใจกล้อง DSLR ลองดู Canon EOS 550D เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยกล้อง SLR คุณภาพคุ้มกับราคาครับ รายละเอียดเพิ่มเติม

พัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย Google+ Hangout API แบบง่ายๆ ลองพัฒนาระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ใช้ในสำนักงานครับ

มาคราวนี้จะพานักพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันให้ได้ลองใช้ Google+ Hangouts API มาใช้สร้างโปรแกรม Video Conference ครับสำหรับแคมเปญบางแคมเปญที่ต้องการใช้วีดีโอในการถ่ายทอดสด หรือบางองค์กรต้องการพัฒนาห้องประชุมเสมือนหรือ Video Conference ภายในนั้นอาจจะต้องไปหาซอฟท์แวร์สำหรับติด ตั้งภายในและเสียค่าใช้จ่ายมากมาย พร้อม Maintenance ก็อาจจะเริ่มใช้ Google+ Hangouts มาแก้ปัญหาไปก่อนซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการ Embeded ตัวหน้าจอวีดีโอไปไว้ที่หน้า เว็บไซต์อื่นๆ ขององค์กรก็คงยากไป ส่วนนักการตลาดที่คิดแคมเปญรายการโทรทัศน์ออนไลน์ที่อยากจะให้เฉพาะใครที่ถูกชวนเข้ามารับชมถกเถียง ไม่ก็จัด Webinar กันนั้นก็คงจะมีปัญหาใน เรื่อง Brand Awareness ซึ่งก็องอยากจะใช้ Hangouts ของ Google+ มาแปะไว้บนหน้าเว็บไซต์ หรือแคมเปญของตัวเองเช่นกัน Google รู้ดีว่าพวกคุณต้องการอะไร Google นั้นก็รู้ว่า Feature ที่หลายคนนิยมใช้ใน Google+ นั้นส่วนใหญ่เลยนั้นก็หนีไม่พ้น HangOuts ครับที่มีคนใช้งานมากเหลือเกิน ก็เลยเปิด API สำหรับนักพัฒนาเอาไปพัฒนา แอพพลิเคชันที่พร้อมจะให้ใครก็ได้ สร้างหน้า วีดีโอ Hangouts บนแคมเปญ หรือแบรนด์เว็บไซต์ได้เลย ด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอนครับ ซึ่งทางผมได้ลองพัฒนาแอพพลิเคชันที่ดึง API ของ Google+ Hangouts มาใช้ให้หลายคนได้ทำตามแบบ Step-by-Step ได้เลย เริ่มต้นพัฒนาแอพพลิเคชันบนเว็บไซต์ด้วย Google+ Hangouts API ก่อนอื่นให้เข้าระบบแล้วไปที่หน้า Google Developers ครับโดยไปดาวน์โหลดไฟล์ Simple Hangouts App ซึ่งเป็นไฟล์ XML หนึ่งไฟล์จาก Google Platform ไปไว้บนเว็บไซต์หน้าที่คุณต้อง การจะใช้พัฒนาเป็นแอพพลิเคชัน ในตัวอย่างผมสร้าง Folder บนเว็บไซต์ขึ้นมาคือ http://www.daydev.com/demo/devhangout/ ซึ่งผมต้องดาวน์โหลดไฟล์ simpleHAngoutApp.xml ไป วางไว้ในนั้นครับ
ดาวน์โหลดที่หน้านี้ครับ ต่อมาเราต้องไปสร้าง Project จากหน้า Google Platform แน่นอนว่าก่อนที่เราจะสร้างแอพพลิเคชันร่วมกับ Google+ Hangouts API นั้นเราต้องมีการสร้าง Project หรือโครงการของเราก่อนจากหน้า Google APIs Console ซึ่งจะต้องมีการเรียกใช้ Service ของ OAuth 2.0 (แต่ถ้าพัฒนาทดสอบเฉยๆ ให้ทำงานได้บน Sandbox เหมือนตัวอย่างนี้ไม่ต้องก็ได้เป็นแค่ทางเลือกครับ)
ไปที่หน้า APIs Console
ไปที่เมนู Create สังเกตที่แถบด้านบนซ้ายครับ ให้ไปเลือกที่ “Create” แล้วใส่ชื่อ Project ใหม่เข้าไป แล้วกดปุ่ม “Create project” ครับ
สร้าง Project ใหม่ขึ้นมา พอหน้าเว็บได้พาเรากลับมาที่หน้ารายการ APIs Console แล้วให้เลื่อนลงไปที่ Hangouts API แล้วทำการเปิดการใช้งานมันครับ
เปิดการใช้ APIs ของ Hangout การเปิดใช้งาน Project ที่เราสร้าง หลังจากที่ผมสร้างแอพพลิเคชันที่เรียกใช้ Google+ Hangouts APIs ที่ชือว่า “Dev Hang Out” แล้วให้ไปที่เมนูซ้ายบน เลือกไปที่ Hangouts ครับ
เลือกเมนู Hangout พอเข้ามาแล้วให้จัดการรายละเอียดทั้งหลายของมันครับ เช่น icon และ OAuth 2.0 ครับ
กรอกรายละเอียด ในช่อง Application URL ให้หรอก URL ที่เราวางไฟล์ simpleHAngoutApp.xml ลงไปครับ
ใส่รายละเอียดลงไปครับ
เพิ่ม icon ของคุณลงไป ก็ได้ครับ หลังจากนั้นก็ให้กด Save ครับก็จะพบลิงค์ Enter a hangout in developer sandbox ให้กดเข้าไปเล่นก่อนในโหมดของนักพัฒนาครับ
กดเข้าไปเลย
สถานะแอพพลิเคชันทดสอบ
เอาล่ะแอพพลิเคชันสามารถใช้งานได้แล้ว
ทดลองเล่น ไม่มีใครเล่นด้วยเลย เห็นไหมครับว่าแอพพลิเคชันที่พัฒนาด้วย Google+ Hangouts API ตัวนี้นั้นพัฒนาขึ้นได้ง่ายมากๆ เลยครับลองทำตามขั้นตอนที่สอนมาเลยนะครับ รับประกันว่า สำเร็จ 100% เลย ต้องขอบคุณ Google Developer นะครับ ขอขอบคุณผู้เขียน Banyapon Poolsawasd จากลิงค์นี้มากๆ ครับ http://www.daydev.com/2012/developer-google-hangout-api.html